top of page
หน้าปก oppame (2).png
  • รูปภาพนักเขียนOppa Me

เสริมอึ๋ม เสียงต่อการเป็นมะเร็ง!!!!

เสริมอึ๋ม เสียงต่อการเป็นมะเร็ง!!!! เพราะซีนเคยบอกทุกคนเสมอว่า การทำศัลยกรรมทุกชนิดความเสี่ยง แล้วการเสริมหน้าอก เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็วเต้านม จริงไหมค่ะ ???? ซีนจะพามาไขข้อข้องใจกันค่ะ

สาวๆ หลายคนมีหน้าอกเล็ก ก็อยากมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น มีบุคลิคที่ดีขึ้น ก็เลยมักจะตัดสินใจเข้ามารับการผ่าตัดศัลยกรรมหน้าอกกัน แต่ทุกคนรู้ไหมค่ะว่า ผลข้างเคียงของการทำศัลยกรรมนั่นคืออะไร การทำศัลยกรรมหน้าอก ไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็งเต้านม แบบที่ทุกคนเข้าใจค่ะ แต่การศัลยกรรมหน้าอก เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองค่ะ

การเสริมหน้าอก เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็วต่อมน้ำเหลือง

        โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นกับสาวๆ ที่เคยศัลยกรรมหน้าอกมา ไม่ใช่มะเร็งเต้านม แต่มันคือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองค่ะ ซึ่งเป็นมะเร็งชนิดที่เรียกว่า Non-Hodgkin’s Lymphoma ซึ่งพบได้บ่อยและสามารถเป็นได้กับทุกช่วงวัย องค์การอนามัยโลกเรียกชื่อมะเร็งชนิดนี้ว่า BIA-ALCL (BIA ย่อมาจาก Breast Implant Associated แปลว่า เกี่ยวกับการทำศัลยกรรมหน้าอก) ส่วน (ALCL คือชื่อโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง) ซึ่ง หมายถึง โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เกิดจากการทำศัลยกรรมหน้าอก นั่นเองค่ะ จะพบตรงเนื้อเยื่อบริเวณแผลรอบๆ ซิลิโคน ไม่ได้เกิดขึ้นที่บริเวณของเต้านมของเราซะทีเดียว


โอกาสการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้ มักจะเกิดขึ้นกับคนที่ผ่าตัดศัลยกรรมหน้าอกมา มากกว่าคนปกติ โดยองค์การอาหารและยาของสหรัสอเมริกา รายงานว่า ในปี 2017 มีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้ประมาณ 414 คน และเสียชีวิตไปทั้งหมด 9 คนด้วยกัน ซึ่งประเมินว่าผู้หญิงที่ผ่าตัดศัลยกรรรมหน้าอกมา มีสิทธิ์เป็นโรคนี้ได้ 1 ใน 30,000 คน แต่ในประเทศออสเตรเลียพบว่ามีโอกาศเกิดได้สูงถึง 1 ใน 1,000 คน

อาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง BIA-ALCL

     โรคมะเร็งชนิดนี้มักเกิดขึ้นหลังจากที่เราผ่าตัดศัลยกรรมเสริมหน้าอกมาแล้ว 3-15 ปี อาการเริ่มต้นจะรู้สึกเจ็บๆรอบๆ หน้าอกและเมื่อคลำหน้าอกจะมีก้อนเล็กๆ และมีลักษณะนูนออกมา ก้อนเนื้อสามารถลุกลามไปยังกล้ามเนื้อโดยรอบ ทั้งต้นแขน คอ หากมีอาการรุนแรงทำให้ไม่สามารถยกแขนได้ ไม่สามารถขยับแขนได้เลย สำหรับบางรายอาจจะไม่มีอาการเจ็บหรือปวดเลยก็มี แต่มีแค่ก้อนเนื้อขนาดเล็กนูนขึ้นมาเท่านั้น

  1. มะเร็งชนิด BIA-ALCL เกิดจาก ซิลิโคน ที่เราใส่ไปค่ะ และเกิดมากในผู้ที่ใส่ซิลิโคนที่มีลัษณะเป็นผิวทราย

จากการสำรวจ ผู้หญิงที่ผ่านการศัลยกรรมเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนผิวทราย มักจะเป็นมะเร็งชนิด BIA-ALCL มากกว่าผู้หญิงที่ศัลยกรรมหน้าอกด้วยซิลิโคนผิวเรียบ


ซิลิโคนผิวทราย

  1. ถูกน้ำมาใช้เพื่อตอบโจทย์ในแง่ของ การลดการเกิดพังผืดหดรัด (Capsular Contracture) และช่วยลดการเคลื่อนที่ผิวรูป (Malrotation) ซิลิโคนผิวทรายมีคามหยาบและมีรูพรุนมาก ทำให้เมื่อใส่เข้าร่างกายแล้ว เนื้อเยื่อจะขึ้นมาคลุมล้อมตัวซิลิโคนได้ดี ไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ผิดรูป เพื่อช่วยลดการเกิดพังผืดหดรัด

  2. แต่ซิลิโคนผิวทรายก็มีข้อเสีย เพราะต่อมาได้มีการค้นพบว่า เจ้าตัวซิลิโคนผิวทรายเนี่ย มันมีข้อเสียที่น่ากลัวมากๆ ทำให้เกิดมะเร็วต่อมน้ำเหลืองชนิด BIA-ALCL ได้

สาเหตุที่ ซิลิโคนผิวทราย ทำให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  1. สาเหตุที่ซิลิโคนผิวทรายทำให้เกิดมะเร็งต่องน้ำเหลือง ชนิด BIA-ALCL เกิดจากผิวทราย เวลาใส่ไปในโพรงหน้าอกแล้ว ตัวซิลิโคนมีพื้นที่ผิวที่เยอะและขรุขระมาก ทำให้มีเชื้อโรคมาเกาะเยอะ ต่อมาเมื่อร่างกายเราตอบสนองโดยการสร้างเม็ดเลือดขาวขึ้นมา รวมถึงมีการสร้างน้ำเหลือง (Seroma) ขึ้นมาล้อมรอบตัวซิลิโคนผิวทราย และเม็ดเลือดขาวที่มาล้อมรอบ ได้กลายไปเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั่นเองค่ะ ให้ทุกคนลองคิดง่ายๆเหมือนทรายอะค่ะ ทรายก็มีหลายชนิดใช่ไหมค่ะ เช่นทรายหยาบ ทรายละเอียด ละเอียดมากๆเหมือผงแป้งก็มี ซึ่งผิวซิลิโคนก็เหมือนกันค่ะ ซิลิโคนที่มีความหยาบมาก พื้นผิวก็จะมากกว่า ซิลิโคนที่มีความหยาบน้อย