แนะนำวิสัญญีแพทย์ : ด็อกเตอร์ คิม แดวอน (Kim Daewon)
top of page

แนะนำวิสัญญีแพทย์ : ด็อกเตอร์ คิม แดวอน (Kim Daewon)

อัปเดตเมื่อ 14 เม.ย. 2566


แนะนำวิสัญญีแพทย์ : ด็อกเตอร์ คิม แดวอน (Kim Daewon)

วิสัญญีแพทย์จากโรงพยาบาลศัลยกรรมบราวน์

( Braun Plastic Surgery )


ไม่ว่าภูตบราวนี่จะประจำอยู่ในบ้านมนุษย์ฉันใด วิสัญญีแพทย์ก็ต้องประจำอยู่ในห้องผ่าตัดฉันนั้น เคยอ่าน นิทานตะวันตกมาหลายเรื่อง ชอบมากกับการมีอยู่ของหล่าวภูติประจำห้องนั้นห้องนี้ประจำห้องครัวบ้างประจำห้องน้ำบ้าง พอโตมาถึงมาได้รู้ว่ามีอาชีพหนึ่งที่คล้ายหล่าวภูติอยู่เหมือนกันแฮะ นั้นคือวิสัญญีแพทย์ แพทย์ประจำห้องผ่าตัด นั้นเอง ด้วยความที่ชอบมากก็เลยไปศึกษาเรื่องวิสัญญีแพทย์มาเยอะพอตัวจนได้ไปรู้จักกับวิสัญญีแพทย์ท่านหนึ่งมา นั้นคือ ด็อกเตอร์ คิม แดวอน (Kim Daewon) วิสัญญีแพทย์จากโรงพยาบาลศัลยกรรมบราวน์( Braun Plastic Surgery )




ประวัติการศึกษาและการทำงานของวิสัญญีแพทย์ คิม แดวอน (Kim Daewon)

ผู้เชี่ยวชาญด้านวิสัญญีวิทยา วิสัญญีแพทย์ประจำโรงพยาบาลศัลยกรรมบราวน์ (Braun Plastic Surgery) ที่จบหลักสูตรการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญด้านการช่วยฟื้นคืนชีพระบบหัวใจและปอดของเกาหลี มีความชำนานและประสบการณ์ในการกู้ชีพ (Cardiopulmonary resuscitation) ในขณะทำการผ่าตัด และยังเป็นสมาชิกในองค์กรหลายแห่งที่มีความเกี่ยวข้องกับวิสัญญีวิทยา วันนี้เราจึงได้นำประวัติการทำงานของวิสัญญีแพทย์ คิม แดวอน (Kim Daewon) มาฝากกันค่ะ

  • จบการศึกษาจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยยอนเซ

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านวิสัญญีวิทยาของโรงพยาบาล Samsung Seoul ผู้เชี่ยวชาญด้านวิสัญญีวิทยา

  • อดีตผู้อำนวยการภาควิชาวิสัญญีวิทยาที่ EverM Dental Clinic 1

  • สมาชิกสามัญของสมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศเกาหลี

  • สมาชิกสามัญของสมาคมยาแก้ปวดแห่งเกาหลี

  • สมาชิกสามัญของสมาคมศัลยกรรมตกแต่งแห่งเกาหลี

  • สมาชิกสมาคมโรคอ้วนแห่งเกาหลี



การระงับความเจ็บปวดฉบับวิสัญญี

ในอดีตการระงับความเจ็บปวดอาจมีแค่การให้ยาสลบเพียงอย่างเดียวแต่ไม่มีการใส่ท่อ หรือเรื่องของการบล็อกหลังก็อาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่ปัจจุบันการระงับความเจ็บปวดแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบคือ


  • การให้ยาสลบทั้งตัว: ผู้ป่วยจะหมดสติหรือหลับ ไม่รู้สึกตัว ไม่รู้สึกเจ็บในขณะผ่าตัด ซึ่งแพทย์ประจำห้องผ่าตัดจะให้ยาสลบทางหลอดเลือดดำหรือให้การสูดดมผ่านหน้ากาก ซึ่งการให้ยาสลบในรูปแบบนี้ใช้ในการผ่าตัดใหญ่โดยส่วนใหญ่ เช่น การผ่าตัดเปิดช่องท้อง การผ่าตัดกระดูกในบางส่วน การผ่าตัดหัวใจ และการผ่าตัดสมอง

  • การให้ยาชาเฉพาะที่: ผู้ป่วยจะไม่หมดสติ และจะรู้สึกตัว แต่ไม่รู้สึกเจ็บในบริเวณที่ทำการผ่าตัด หากผู้ป่วยยังมีความกังวล แพทย์ประจำห้องผ่าตัดก็จะให้ยาคลายความเครียด หรือลดความกังวลในระหว่างผ่าตัดร่วมด้วย ซึ่งการให้ยาชาเฉพาะที่ใช้ในกรณีผ่าตัดเล็กโดยส่วนใหญ่ เช่น ผ่าตัดซีสต์ การผ่าตัดจากการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น



อย่างที่รู้กันว่า วิสัญญีแพทย์สำคัญเป็นอย่างมากในห้องผ่าตัด เพราะต้องเป็นคนที่คอยวิเคราะห์สภาพความพร้อมของผู้ป่วย แต่หลายๆแห่งของโรงพยาบาลศัลยกรรมกลับไม่มีวิสัญญีแพทย์เลย โดยมีเหตุผลว่าการจ้างวิสัญญีแพทย์เปลืองงบค่าหมอดมยาสลบ เลยไม่มีการจ้างเพื่อประหยัดต้นทุน และให้ผู้ช่วยผ่าตัดเป็นคนดูแลแทน ซึ่งไม่ได้มีความรู้ว่าต้องฉีดยาปริมาณเท่าไร? ต้องใส่ท่อช่วยหายใจไหม? ที่หนักไปกว่านั้น คือให้แพทย์ผู้ผ่าตัดเป็นคนทำการวางยาสลบเอง แล้วแพทย์ผู้ผ่าตัดจะมีสมาธิผ่าตัด หรือดูอาการคนไข้ได้อย่างไรก่อน?




ที่ดีๆ หน่อยก็จ้างพยาบาลมาทำการวางยาสลบ แต่หากมีภาวะฉุกเฉิน หมอดมยาก็จะรับมือกับสถานการณ์ได้ดีกว่า อีกทั้งโรงพยาบาลหลายแห่งยังไม่เห็นถึงความสำคัญ ความปลอดภัย และไม่อยากยุ่งยากในการเตรียมตัวคนไข้ ซึ่งหากในห้องผ่าตัดมีวิสัญญีแพทย์อยู่ด้วย ในขณะที่ศัลยแพทย์กำลังผ่าตัดทำศัลยกรรมอยู่ วิสัญญีแพทย์จะมีหน้าที่คอยดูมอนิเตอร์สัญญาณชีพตลอดเวลา คอยเติมหรือลดปริมาณยาสลบ เพื่อให้คนไข้หลับดี ไม่กระตุก ไม่รู้สึกเจ็บ ไม่ตื่นกลางคัน และช่วยให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดได้อย่างราบรื่น การมีวิสัญญีแพทย์ในห้องผ่าตัดจึงสำคัญเป็นอย่างมาก



ติดตามโปรโมชั่นศัลยกรรมเกาหลีได้ที่

LINE : @oppame หรือ www.connextchat.com/oppame

Website : www.oppame.com



ดู 51 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด
หน้าปกเว็บ แบนเนอร์ (2000 x 628 px).png
bottom of page